วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2555




เส้นแรงไฟฟ้า



ประจุไฟฟ้าและเส้นแรงไฟฟ้า

     ประจุไฟฟ้ามีทั้งประจุบวกและประจุลบ
โดยเส้นแรงไฟฟ้าของประจุบวกจะพุ่งออก
และของประจุลบจะพุ่งเข้าหา แสดงดังรูป
ด้านบน  ในที่ที่มีเส้นแรงไฟฟ้าเราเรียกว่ามี
สนามไฟฟ้า
     ทิศทางของเส้นแรงไฟฟ้าคือทิศทางของ
สนามไฟฟ้าที่จุดนั้นๆ




เส้นแรงแม่เหล็ก



เส้นแรงแม่เหล็กของแท่งแม่เหล็ก

     เมื่อนำกระดาษแข็งวางบนแท่งแม่เหล็ก
โรยเศษผงเหล็กละเอียดบนกระดาษแล้วค่อยๆ
เคาะด้วยนิ้วเบาๆ ผงเหล็กจะเรียงตัวตามเส้น
แรงแม่เหล็กจากขั้ว N ไปขั้ว S อย่างสวยงาม
ดังรูปด้านบน  โดยในที่ที่มีเส้นแรงแม่เหล็ก
เราเรียกว่ามี สนามแม่เหล็ก



เส้นแรงแม่เหล็กรอบตัวนำ

    รูปด้านบนแสดงเส้นแรงแม่เหล็กที่เกิดขึ้น
รอบตัวนำที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน   ซึ่งมี
ลักษณะเป็นรูปวงกลม  โดยเส้นแรงแม่เหล็ก
มีทิศทางไปในทิศของการขันสกรูเกลียวขวา
เมื่อกระแสมีทิศทางพุ่งเข้าและจะไปในทิศ
การขันสกรูเกลียวซ้ายเมื่อกระแสพุ่งออก















                             

                             
         สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก (Electric and Magnetic Field: EMFs) จะหมายถึง
เส้นสมมุติที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงอาณาเขตและความเข้มของเส้นแรงที่เกิดขึ้นระหว่างวัตถุที่มี
ความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้า (เรียกว่า สนามไฟฟ้า) และที่เกิดขึ้นโดยรอบ
วัตถุที่มีกระแสไฟฟ้าไหล (เรียกว่า สนามแม่เหล็ก) ในกรณีกล่าวถึงทั้ง สนามไฟฟ้าและ
สนามแม่เหล็กพร้อมกันมักจะเรียกรวมว่า สนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Field: EMF)
หรือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กสามารถเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะคือ
1) เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่ สนามแม่เหล็กโลก
     คลื่นรังสีจากแสงอาทิตย์   คลื่นฟ้าผ่า  คลื่นรังสีแกมมา
     เป็นต้น
2) เกิดขึ้นจากการสร้างของมนุษย์   แบ่งออกได้เป็น
     2 ชนิด คือ
สนามแม่เหล็กโลกและปรากฏการณ์
ฟ้าผ่าจากสนามไฟฟ้า
   
- แบบจงใจ  คือสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่จงใจ
สร้างให้เกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักที่จะใช้
ประโยชน์โดยตรงจากคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
ที่สร้างขึ้นนี้ เช่น ให้สามารถส่งไปได้ในระยะ
ไกลๆ ด้วยการส่งสัญญาณของระบบสื่อสาร
สัญญาณเรดาร์  คลื่นโทรศัพท์  คลื่นโทรทัศน์
และ คลื่นวิทยุ และการใช้คลื่นไมโครเวฟ
ในการให้ความร้อน เป็นต้น
 
- แบบไม่จงใจ  คือสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
ที่เกิดจากการใช้งานอุปกรณ์  โดยไม่ได้มี
วัตถุประสงค์หลักที่จะใช้ประโยชน์
โดยตรงจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดขึ้น
เช่น ระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า (สายส่งไฟฟ้า)
รวมถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
 


         สนามแม่เหล็กไฟฟ้ายังสามารถแบ่ง
ออกเป็น     สนามแม่เหล็กไฟฟ้าสถิต
ที่ไม่มีการเปลี่ยนตามเวลา (Static Field หรือ
DC Field) ตัวอย่างเช่น  สนามไฟฟ้าระหว่าง
ก้อนเมฆกับพื้นโลก    สนามแม่เหล็กจาก
แม่เหล็กถาวร  สนามแม่เหล็กโลก เป็นต้น
                 

 
สนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้น
รอบแท่งแม่เหล็กถาวร
 
สนามไฟฟ้าระหว่าง
ก้อนเมฆกับพื้นโลก
            ส่วนอีกประเภทคือสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีการเปลี่ยนตามเวลา (Dynamic Field หรือ
AC Field) ตัวอย่างเช่น สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากระบบการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้ากระแสสลับ
(50 Hz) และ ระบบสื่อสาร เป็นต้น


 
         สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากระบบการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า
เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแถบคลื่นความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
(Electromagnetic Spectrum) ซึ่งแถบคลื่นความถี่นี้จะเป็นตัวบอกถึง
ระดับพลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Energy
หรือ Photon Energy) โดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูงจะมี
ระดับของพลังงานสูง และ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ต่ำก็จะมี
ระดับของพลังงานที่ต่ำ
         แถบคลื่นความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเรียงลำดับความถี่
จากสูงไปสู่ต่ำ เป็นดังนี้   รังสีคอสมิก   รังสีแกมมา    รังสีเอ็กซ์
แสงอาทิตย์  คลื่นความร้อน   คลื่นไมโครเวฟ    คลื่นวิทยุ   และ สนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสไฟฟ้า ดังแสดงในรูป
         อย่างไรก็ตาม สนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าเป็น
เพียงส่วนหนึ่งของแถบความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความ
แตกต่างกันอย่างมากเมื่อเทียบกับรังสีแกมมาซึ่งมีความถี่อยู่ในย่าน
การแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ทำให้เกิดไอออน (Ionization
Radiation)
[1] และสามารถทำลายการยึดเหนี่ยวของโมเลกุลได้
นั่นหมายความว่ารังสีแกมมาและการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ทำให้เกิดไอออนสามารถ
ทำลายส่วนต่างๆ ของดีเอ็นเอ (DNA) และการได้รับรังสีชนิดนี้สามารถนำไปสู่โรคมะเร็งได้
         คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีแถบคลื่นความถี่ที่ต่ำลงมา ระดับพลังงานของคลื่นแม่เหล็ก
ไฟฟ้าก็จะมีค่าลดลง ตัวอย่างเช่น คลื่นไมโครเวฟ ซึ่งมีพลังงานไม่เพียงพอที่จะทำลาย
การยึดเหนี่ยวของโมเลกุลได้ อย่างไรก็ตามการได้รับการแผ่รังสีของคลื่นไมโครเวฟที่มีค่าสูง
โดยตรงสามารถทำให้เกิดความร้อนได้เช่นเดียวกับการทำให้อาหารสุกโดยใช้ เตาไมโครเวฟ
         สนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสไฟฟ้า มีความถี่อยู่บนแถบคลื่นความถี่ของคลื่น
แม่เหล็กไฟฟ้าในย่านความถี่ต่ำมาก
[2] สนามแม่เหล็กจากเครื่องใช้ไฟฟ้าและสายส่งไฟฟ้านั้น
มีระดับพลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าน้อยมากๆ ซึ่งไม่เพียงพอที่จะทำลายการยึดเหนี่ยว
ของโมเลกุลได้
         แต่อย่างไรก็ดี เซลล์ร่างกายคนเราสามารถตอบสนองกับสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่มี
พลังงานต่ำด้วย ในกรณีที่ขนาดของสนามแม่เหล็กไฟฟ้านั้นมีค่าสูง ซึ่งปฏิกิริยาเหล่านี้
จะเป็นปฏิกิริยาทางอ้อม (ผลกระทบทางกายภาพ) โดยยังไม่มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า
ผลกระทบทางอ้อมนี้จะก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ
[1] Ionization Radiation คือ การแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ทำให้เกิดการแตกตัวของอะตอมหรือกลุ่มของอะตอมที่มีประจุบวกและลบ
     โดยขึ้นอยู่กับการได้หรือสูญเสียอิเล็กตรอน
[2] ย่านความถี่ต่ำมาก (Extremely Low Frequency : ELF) มีความถี่อยู่ในช่วง 3 Hz ถึง 3,000 Hz (3 kHz) สำหรับประเทศไทยใช้ความถี่
    ในการส่งกระแสไฟฟ้าที่ 50 Hz
 




กองวิจัยและพัฒนา  ฝ่ายวิจัยและพัฒนา  การไฟฟ้านครหลวง  -  มกราคม 2549
       
สนามไฟฟ้าจากธรรมชาติ
            สนามไฟฟ้าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติบนโลกของเรานี้
เป็นสนามไฟฟ้าสถิตที่ไม่มีการเปลี่ยนตามเวลา หรือ มีค่า
เกือบคงที่ (Static Field หรือ DC Field) ซึ่งเกิดจากการถ่ายเท
และรวมตัวกันของประจุไฟฟ้าในก้อนเมฆ และสนามไฟฟ้า
บนโลกทำให้เกิดปรากฏการณ์ฟ้าผ่า
         สนามไฟฟ้าจากธรรมชาติบริเวณใกล้พื้นโลก
ขณะปกติจะมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 200 โวลต์ต่อเมตร (200 V/m)
และสนามไฟฟ้าจากธรรมชาตินี้อาจมีค่าสูงถึง 50,000 V/m
ในช่วงเกิดปรากฏการณ์ฟ้าผ่า
 
สนามไฟฟ้าบนโลก
ทำให้เกิดปรากฏการณ์ฟ้าผ่า
   


  สนามแม่เหล็กจากธรรมชาติ           สนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติบนโลก หรือ
สนามแม่เหล็กโลก เกิดจากกระแสไฟฟ้าที่ไหลอยู่ในแกน
ของโลก  ซึ่งเป็นสนามแม่เหล็กสถิตมีค่าค่อนข้างคงที่ และ
ไม่มีการเปลี่ยนแปลง (DC Field)     เราใช้ประโยชน์จาก
สนามแม่เหล็กโลกในการระบุ ทิศเหนือ/ทิศใต้    โดยเฉลี่ย
สนามแม่เหล็กโลกมีค่าประมาณ 500 มิลลิเกาส์ (500 mG)
สนามแม่เหล็กบนโลกซึ่งเกิดจาก
กระแสไฟฟ้าที่ไหลในแกนโลก

 


กองวิจัยและพัฒนา  ฝ่ายวิจัยและพัฒนา  การไฟฟ้านครหลวง  -  มกราคม 2549
Copyright © 2006 Metropolitan Electricity Authority (MEA). All rights reserved
       
สนามไฟฟ้า
สนามแม่เหล็ก
1) เกิดจากประจุไฟฟ้า (แรงดันไฟฟ้า)
   โดยไม่จำเป็นต้องมีกระแสไหล
      โคมไฟที่เสียบปลั๊กแล้วแต่ยังไม่ได้เปิด
  สวิตช์ จะมีแรงดันไฟฟ้าปรากฏที่สายไฟฟ้า
  และทำให้มีสนามไฟฟ้าเกิดขึ้น
1) เกิดจากกระแสไฟฟ้าไหลในตัวนำ เช่น
   สายไฟฟ้า
      โคมไฟที่เสียบปลั๊กและมีการเปิดสวิตช์
  แล้วนั้น จะมีกระแสไฟฟ้าไหลในสายไฟฟ้า
  และทำให้มีสนามแม่เหล็กเกิดขึ้นด้วย
2) หน่วยที่ใช้วัด คือ โวลต์ต่อเมตร
   (Volts per meter: V/m) หรือ กิโลโวลต์ต่อ
   เมตร (kilovolts per meter: kV/m)
1 kV = 1,000 V
2) หน่วยที่ใช้วัด คือ เกาส์ (Gauss: G)
   หรือ เทสลา (Tesla: T)
  1 มิลลิเกาส์ (mG) = 0.1 ไมโครเทสลา (T)
      มิลลิ (m) = 1/1,000 (1 ในพันส่วน)
    ไมโคร () = 1/1,000,000 (1 ในล้านส่วน)
3) การลดทอนสนามไฟฟ้า ทำได้ง่าย โดยใช้
  วัสดุตัวนำที่มีการต่อลงดิน บังหรือกั้นไว้
  เช่น รั้วเหล็ก อาคาร หรือ ต้นไม้ เป็นต้น
3) การลดทอนสนามแม่เหล็ก โดยใช้วัสดุ
  ทั่วไปทำได้ยาก ต้องใช้วัสดุพิเศษที่มี
  คุณสมบัติดูดซับสนามแม่เหล็กได้ดี เช่น
  แผ่นเหล็กพิเศษที่ใช้ทำแกนของหม้อแปลง
  ไฟฟ้า เป็นต้น
4) ระดับของสนามไฟฟ้าขึ้นอยู่กับขนาด
  ของแรงดันไฟฟ้า และจะมีค่าลดลงเมื่อระยะ
  ห่างจากแหล่งกำเนิดเพิ่มขึ้น
4) ระดับของสนามแม่เหล็กขึ้นอยู่กับขนาด
  ของกระแสไฟฟ้า และจะมีค่าลดลงเมื่อระยะ
  ห่างจากแหล่งกำเนิดเพิ่มขึ้น
       
       


กองวิจัยและพัฒนา  ฝ่ายวิจัยและพัฒนา  การไฟฟ้านครหลวง  -  มกราคม 2549
   
   
          ระบบไฟฟ้าแรงสูงของการไฟฟ้านครหลวงปัจจุบันจ่ายด้วยระบบแรงดันไฟฟ้า
ขนาดตั้งแต่ 12,000 โวลต์ 24,000 โวลต์ 69,000 โวลต์ และ 115,000 โวลต์ เป็นส่วนใหญ่
และมีการจ่ายด้วยระบบ 230,000 โวลต์ อยู่บ้าง การเรียกระดับแรงดันไฟฟ้าของไฟฟ้า-
แรงสูงมักจะเรียกเป็นหน่วยของพันโวลต์ว่า เควี (kV) หรือ กิโลโวลต์ (kilovolts) เช่น
12,000 โวลต์ จะเรียกว่า 12 เควี หรือ 12 กิโลโวลต์ เป็นต้น
          ขนาดของสนามแม่เหล็กนั้นไม่สามารถคาดเดาได้จากแรงดัน
ของระบบไฟฟ้า กล่าวคือ ไม่เสมอไปที่สายส่งไฟฟ้าระบบแรงดัน 69 เควี
จะสร้างสนามแม่เหล็กที่มีขนาดสูงกว่าระบบแรงดันต่ำ 220 โวลต์ นั่น
เป็นเพราะกระแสที่ไหลในสายไฟฟ้าเป็นตัวสร้างสนามแม่เหล็ก
ไม่ใช่แรงดันไฟฟ้า ขนาดของสนามแม่เหล็กจะแปรผันโดยตรงกับขนาด
กระแสไฟฟ้า นั่นหมายถึงระดับของสนามแม่เหล็กจะมีค่าเพิ่มขึ้นตาม
ค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลในสายไฟฟ้า
เครื่องมือวัด
ค่าสนามแม่เหล็ก
   
   


กองวิจัยและพัฒนา  ฝ่ายวิจัยและพัฒนา  การไฟฟ้านครหลวง  -  มกราคม 2549
Copyright © 2006 Metropolitan Electricity Authority (MEA). All rights reserved

Copyright © 2006 Metropolitan Electricity Authority (MEA). All rights reserved
 
 
สายส่งระบบแรงดัน
69 และ 115 กิโลโวลต์
(เสาสูง 20 เมตร)
1 ถึง 100 มิลลิเกาส์ (mG)
ใต้แนวสาย
สายจำหน่ายระบบแรงดัน
12 - 24 กิโลโวลต์
(เสาสูง 12 เมตร)
1 ถึง 20 มิลลิเกาส์ (mG)
ใต้แนวสาย
สายแรงต่ำระบบแรงดัน
220/380 โวลต์
(เสาสูง 8 เมตร)
1 ถึง 10 มิลลิเกาส์ (mG)
ใต้แนวส
 


กองวิจัยและพัฒนา  ฝ่ายวิจัยและพัฒนา  การไฟฟ้านครหลวง  -  มกราคม 2549
Copyright © 2006 Metropolitan Electricity Authority (MEA). All rights reserved
 
http://www.mea.or.th/internet/understanding_emf_web/emf_thai/images_thai/title06.png
          อุปกรณ์ทุกชนิดที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านก็จะมีสนามแม่เหล็กเกิดขึ้นรอบ
อุปกรณ์นั้น   โดยขนาดของสนามแม่เหล็กจะขึ้นอยู่กับกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านและ
ระยะห่างจากเครื่องใช้ไฟฟ้า ดังตัวอย่างที่แสดงในตาราง
ตาราง ตัวอย่างค่าสนามแม่เหล็กสูงสุดของเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน : หน่วย มิลลิเกาส์ (mG)
  ระยะห่างจากเครื่องใช้ไฟฟ้า (เมตร)
0.15
0.30
0.60
1.20
 เครื่องเป่าผม
700
70
10
1
 เครื่องดูดฝุ่น
700
200
50
10
 เครื่องโกนหนวดไฟฟ้า
600
100
10
1
 เตาอบไมโครเวฟ
300
200
30
20
 หลอดฟลูออเรสเซนต์
100
30
8
4
 เครื่องซักผ้า
100
30
6
-
 ตู้เย็น
40
20
10
10
 พัดลม
-
50
6
1
 เตารีด
20
3
-
-
ที่มา: DOE/EE-0040, “Questions and Answers About
       Electric and Magnetic Fields Associated with
       the Use of Electric Power”, National Institute
       of Environmental Health Services and U.S.
       Department of Energy, January 1995,
       pp.35-44.

 


กองวิจัยและพัฒนา  ฝ่ายวิจัยและพัฒนา  การไฟฟ้านครหลวง  -  มกราคม 2549
Copyright © 2006 Metropolitan Electricity Authority (MEA). All rights reserved

   
          โดยธรรมชาติในร่างกายของคนเราจะมีกระแสไฟฟ้าที่ใช้ในการดำรงชีวิตและ
เป็นส่วนที่สำคัญ ร่างกายจะถูกสั่งงานด้วยการกระตุ้นของกระแสไฟฟ้าผ่านเส้นประสาท
ทั้งหลายเพื่อให้ร่างกายทำงานอย่างปกติ ปฏิกริยาทางชีวเคมีส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับ
กระบวนการทางไฟฟ้าตั้งแต่กระบวนการย่อยอาหารจนถึงการทำงานของสมอง
         ผลกระทบของการสัมผัสสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กจากภายนอกต่อร่างกาย
โดยหลักๆ แล้วจะขึ้นอยู่กับ ค่าความถ ี่และ ขนาด ของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก
ค่าความถี่เรียกง่ายๆ คือ จำนวนรอบการแกว่งของสัญญาณ หรือ จำนวนรอบต่อวินาที
โดยที่ ณ ค่าความถี่ต่ำ (50 Hz) ซึ่งเป็นของระบบส่งจ่ายกระแสไฟฟ้านั้น สนามไฟฟ้าและ
สนามแม่เหล็กจะผ่านร่างกายไป ในขณะที่ ระดับความถี่วิทยุ สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก
บางส่วนจะถูกดูดกลืนผ่านเข้าสู่ร่างกายของคนเราซึ่งตามธรรมชาตินั้นทุกคนก็ได้รับ
ผลกระทบดังกล่าวจากการสัมผัสแหล่งกำเนิดสนามแม่เหล็กตามที่กล่าวในข้างต้น
สนามไฟฟ้า
สนามแม่เหล็ก
          ในทางทฤษฎีจะพบว่าเมื่อเรายืนอยู่ใต้สายส่งไฟฟ้าแรงสูงที่มีการติดตั้งตามมาตรฐาน
แล้ว  สนามไฟฟ้าจะผ่านร่างกายโดยจะมีประจุไฟฟ้ากระจายสะสมบนผิวของร่างกายและ
ทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายลงสู่พื้นดิน    ในขณะที่ สนามแม่เหล็กจะผ่านร่างกาย
และจะเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลวนภายในร่างกายตามปกติเหมือนที่ได้รับจาก
แหล่งกำเนิดสนามแม่เหล็กที่อยู่ในชีวิตประจำวัน
<


กองวิจัยและพัฒนา  ฝ่ายวิจัยและพัฒนา  การไฟฟ้านครหลวง  -  มกราคม 2549
Copyright © 2006 Metropolitan Electricity Authority (MEA). All rights reserved
   
              ผลกระทบหรืออันตรายจากสนามไฟฟ้าและ
สนามแม่เหล็กที่มีต่อคนและสัตว์ เป็นคำถามที่มีการกล่าวถึง
อยู่เสมอๆ  โดยเฉพาะผู้ที่มีบ้านเรือนหรือที่ทำงานอยู่ใกล้กับ
สายส่งไฟฟ้าแรงสูง จะมีความวิตกกังวลถึงอันตรายที่อาจจะ
ขึ้นจากสิ่งที่มองไม่เห็น    ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีการศึกษาวิจัย
กันทั่วโลก แต่ก็ยังไม่มีข้อสรุปใดๆ ว่ามีหรือไม่มีอันตราย
แต่ประการใด  เพราะไม่มีหลักฐานหรือข้อมูลที่ยืนยันหรือ
พิสูจน์ได้ชัดเจน

   
   
        ปัจจุบันการไฟฟ้านครหลวงได้มีการติดตั้งระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า
ตามมาตรฐานและควบคุมค่าสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กที่มีความ
ปลอดภัยให้เป็นไปตามที่องค์การอนามัยโลก (World Health Organization:
WHO) กำหนด  ซึ่งได้ร่วมกับหน่วยงาน International Commission on
Non-Ionizing Radiation Protection (ICNIRP) ทำการวิจัยและพัฒนา
ด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
WHO
โดยได้กำหนดระดับสูงสุดของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กที่เกิดจาก ระบบไฟฟ้าความถี่ต่ำ
(50 Hz) ที่ประชาชนสามารถสัมผัสได้อย่างปลอดภัยไว้ ดังแสดงในตาราง   ตาราง ค่าขีดจำกัดสูงสุดของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก 50 Hz
สถานที่
ระยะเวลา
สนามไฟฟ้า
สนามแม่เหล็ก
สถานประกอบการ
ตลอดชั่วโมงการทำงาน
10 kV/m
5,000 mG
สาธารณะ
ตลอดทั้งวัน
5 kV/m
1,000 mG
  หมายเหตุ: 1 kV = 1,000 V และ 1,000 mG = 1 G

     
          ผลกระทบของสนามแม่เหล็กมักจะเกิดขึ้นกับ
อุปกรณ์ที่มีการทำงานเกี่ยวข้องกับสนามแม่เหล็ก  โดยเฉพาะ
กับอุปกรณ์ที่มีความอ่อนไหวต่อสนามแม่เหล็ก   ระดับของ
สนามแม่เหล็กที่มีผลกระทบจะขึ้นอยู่กับประเภทของอุปกรณ์
ตัวอย่างเช่น จอคอมพิวเตอร์ชนิดหลอดภาพ CRT  เมื่อได้รับ
สนามแม่เหล็กจากภายนอกเกินกว่า 10 mG ขึ้นไป   อาจจะ
ทำให้ภาพบนจอสั่นพลิ้วหรือ บัตรที่มีการบันทึกข้อมูลลงบน
ตัวอย่างภาพถ่ายจอคอมพิวเตอร์
ชนิด CRT ถูกรบกวนจาก
สนามแม่เหล็กความถี่ 50 Hz
  แถบแม่เหล็ก เช่น บัตร เอทีเอ็ม เมื่อได้รับสนามแม่เหล็กเกินกว่า 100,000 mG จะทำให้ข้อมูล
บนแถบแม่เหล็กมีผลกระทบจนบัตรใช้งานไม่ได้            

 


กองวิจัยและพัฒนา  ฝ่ายวิจัยและพัฒนา  การไฟฟ้านครหลวง  -  มกราคม 2549
Copyright © 2006 Metropolitan Electricity Authority (MEA). All rights reserved
   
   
          เส้นที่เป็นคลื่นและภาพที่สั่นพลิ้วบนจอคอมพิวเตอร์นั้นเป็นอาการที่สนามแม่เหล็ก
ของหลอดภาพถูกรบกวนจากสนามแม่เหล็กภายนอก
          สนามแม่เหล็กสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือ
สายไฟฟ้า ดังนั้นสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นจากเครื่องใช้
ไฟฟ้า และการส่งจ่ายไฟฟ้า   รวมถึงระบบไฟฟ้า
ภายในอาคารล้วนเป็นแหล่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก
ที่สามารถทำให้เกิดอาการสั่นพลิ้วของภาพบนจอ
คอมพิวเตอร์ชนิดหลอดภาพ CRT ได้ทั้งสิ้น
อาการสั่นพลิ้วบนจอคอมพิวเตอร์ซึ่งเกิดจาก
พัดลมไฟฟ้าที่ยกเข้ามาใกล้จอ
(ตัวอย่างกรณีรุนแรงที่สุด)
          โดยทั่วไปสนามแม่เหล็กจะต้องมีค่ามากกว่า 10 mG จึงจะทำให้เกิดการสั่นพลิ้ว
ของภาพบนจอคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของจอภาพ   โดยจอภาพขนาดใหญ่
(วัดเส้นทแยงมุมของจอภาพหน่วยเป็นนิ้ว) จะมีความอ่อนไหวต่อสนามแม่เหล็กมากกว่า
จอภาพขนาดเล็ก นั่นหมายถึงจอภาพขนาดใหญ่จะถูกรบกวนได้ง่ายกว่า
           
http://www.mea.or.th/internet/understanding_emf_web/emf_thai/images_thai/title12.png
           
        ก่อนอื่นต้องพยายามหาแหล่งกำเนิดหรือตัวสร้างสนามแม่เหล็กที่ทำให้เกิดการสั่นพลิ้ว
โดยการปิดไฟแสงสว่างและเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ทีละอย่างและให้สังเกตอาการสั่นพลิ้ว
ที่เปลี่ยนไป  ในกรณีที่เป็นตัวสร้างสนามแม่เหล็กเมื่อปิดแล้วอาการสั่นพลิ้วจะลดลง
          เมื่อหาแหล่งกำเนิดสนามแม่เหล็กที่ทำให้เกิดการสั่นพลิ้วได้แล้ว วิธีการแก้ไขอย่างแรก
คือ  ให้พยายามย้ายจอคอมพิวเตอร์ หรือ แหล่งกำเนิดสนามแม่เหล็กอย่างใดอย่างหนึ่งให้ห่าง
จากกันจนกว่าอาการสั่นพลิ้วจะหมดไป    ซึ่งในบางกรณีสามารถแก้ไขอาการสั่นพลิ้วได้
โดยง่ายด้วยการเปลี่ยนทิศทางการวางจอภาพ (หมุนจอภาพ)  
หมายเหตุ: การแก้ไขที่แหล่งกำเนิดอื่นๆ ที่อาจ
จะเป็นอันตรายและไม่อาจดำเนินการได้ด้วย
ตนเอง เช่น สายไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า  หรือ
การติดตั้งและการเดินสายที่ไม่ถูกต้อง ควรแจ้ง
ให้ช่างไฟฟ้าหรือการไฟฟ้าในเขตพื้นที่เข้ามา
ตรวจสอบและดำเนินการปรับปรุงแก้ไข
           ถ้าแหล่งกำเนิดสนามแม่เหล็กเกิดจาก
ระบบแสงสว่าง    ซึ่งส่วนมากมักจะมาจาก
บัลลาสต์ชนิดขดลวดแกนเหล็ก   ในกรณีนี้
การเปลี่ยนบัลลาสต์จากชนิดขดลวดแกนเหล็ก
เป็นบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์สามารถลด
สนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นและช่วยแก้ไขอาการ
สั่นพลิ้วของภาพบนจอได้  
ตัวอย่างการสั่นพลิ้วของภาพบนจอคอมพิวเตอร์
ชนิดหลอดภาพ CRT ซึ่งเกิดจากเตาอบ
ไมโครเวฟที่วางอยู่อีกด้านของผนัง ในกรณีนี้
เมื่อย้ายจอคอมพิวเตอร์ออกห่างจากแหล่งกำเนิด
ประมาณ 2 ฟุต ก็สามารถแก้ไขอาการสั่นพลิ้วได้
เนื่องจากสนามแม่เหล็กมีการลดลงอย่างรวดเร็ว
เมื่ออยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดมากขึ้น
 
          ในกรณีที่จอภาพและแหล่งกำเนิดสนามแม่เหล็กไม่สามารถเคลื่อนย้ายตำแหน่ง
การวางได้    การปรับความถี่การสแกนหรือการกวาดภาพในแนวตั้ง (Refresh rate) ให้มีค่า
สูงกว่า 50 Hz มากๆ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถแก้ไขอาการสั่นพลิ้วของภาพบนจอได้ เช่น
ปรับเป็น 75 Hz หรือ 85 Hz ความถี่ในการสแกนนี้สามารถเข้าไปปรับเปลี่ยนได้โดยเข้าไปที่
Display Properties เลือกเมนู Setting คลิกที่ปุ่ม Advanced เลือกเมนู Monitor แล้วเลือก
ค่าความถี่ในการสแกนที่ต้องการในส่วนของ Monitor Setting (สำหรับ Microsoft Window)
ในบางครั้งการปรับความถี่ในการสแกนก็ไม่สามารถแก้ไขอาการสั่นพลิ้วของภาพบนจอได้
เนื่องจากสนามแม่เหล็กอาจมีค่าสูงมากในบริเวณนั้น
  หมายเหตุ: การปรับความถี่ในการสแกนควรกระทำโดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ
เกี่ยวกับคอมพิวเตอร ์             กรณีที่ตรวจพบว่าแหล่งกำเนิดหรือตัวสร้างสนามแม่เหล็กรบกวนมาจากสายตัวนำ
ของการไฟฟ้า หรือ อุปกรณ์ของการไฟฟ้า หรือ มาจากอาคารข้างเคียง  ให้ปรึกษาหรือแจ้ง
การไฟฟ้าในเขตพื้นที่เพื่อพิจารณาหาแนวทางแก้ไขต่อไป    
         มาตรการสุดท้ายในการแก้ไขอาการสั่นพลิ้ว
ของภาพบนจอคอมพิวเตอร์ คือ การ กำบังหรือชีลด์
(Shield) จอคอมพิวเตอร์ หรือ บริเวณพื้นที่ใช้งาน
ด้วยวัสดุชีลด์  ซึ่งเป็นโลหะผสมที่มีคุณสมบัติพิเศษ
ในการกำบังสนามแม่เหล็กเช่น แผ่นเหล็กที่ใช้ทำแกน
ของหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง เป็นต้น   การใช้วัสดุชีลด์
สามารถลดทอนหรือป้องกันการรบกวนจาก
สนามแม่เหล็กได้



   
http://www.mea.or.th/internet/understanding_emf_web/emf_thai/images_thai/title13.png
   
          ควรหลีกเลี่ยงการใช้งานคอมพิวเตอร์ใกล้แนวสายไฟฟ้าของการไฟฟ้า หรือ ควร
ใช้งานห่างจากแนวสายของการไฟฟ้าเป็นระยะประมาณ 5 ถึง 15 เมตร ขึ้นอยู่กับชนิดและ
ประเภทของสายไฟฟ้า
          หากมีความจำเป็นหรือหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้งาน
คอมพิวเตอร์ในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กรบกวน ควรเลือกใช้
จอคอมพิวเตอร์ที่เป็นจอภาพชนิด LCD แทนจอชนิดหลอดภาพ
CRT เนื่องจากสนามแม่เหล็กไม่มีผลกระทบต่อการทำงานของ
จอภาพชนิดนี้
ตัวอย่างจอคอมพิวเตอร์
ชนิด LCD

 


กองวิจัยและพัฒนา  ฝ่ายวิจัยและพัฒนา  การไฟฟ้านครหลวง  -  มกราคม 2549
Copyright © 2006 Metropolitan Electricity Authority (MEA). All rights reserved
 
 
          การไฟฟ้านครหลวงยินดีให้บริการตรวจสอบ วิเคราะห์ และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ
ปัญหาสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กกับผู้ใช้ไฟฟ้าทุกท่าน   หากผู้ใช้ไฟฟ้ามีข้อสงสัย หรือ
ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อที่   ศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้า
การไฟฟ้านครหลวง (Call Center) 1130  หรือ  กองวิจัยและพัฒนา  การไฟฟ้านครหลวง
0-2348-5555 หรือ การไฟฟ้านครหลวงเขตที่อยู่ใกล้สถานที่ใช้ไฟฟ้าของท่าน ดังนี้
การไฟฟ้านครหลวง
เขต
อักษร
/ รหัสเครื่องวัดฯ
ขอใช้บริการไฟฟ้า
07.30 - 15.00 น.
แจ้งไฟฟ้าขัดข้อง
24 ชั่วโมง
วัดเลียบ
A   B  C  D  E  F  G  H  I
01 02 03  04  05  06 07 08
K  L  M  V  J  G
09 10  11  39  69 75
0-2220-5226
0-2220-5211
คลองเตย
N O P R S T U Y
12 13 14 15 16 17 18 24
KT AY LJ
25 32 38
0-2348-5226
0-2348-5211
บางกะปิ
SN BK AK BC PK
23 26 33 27 35
0-2725-5226
0-2725-5211
สมุทรปราการ
KD BB PM
37 44 55
0-2791-5226
0-2791-5211
มีนบุร
   
62 63 67
0-2907-5226
0-2907-5211
บางพลี
BP LB BB
34 36 64 44
0-2769-5226
0-2769-5211
สามเสน
           
71 73 74 76 81 82 83
       
84 86 87 88 92
0-2242-5226
0-2242-5211
ธนบุรี
W1 WB WA
19 31 70
0-2878-5226
0-2878-5211
บางใหญ
   
80  93  94
0-2832-5226
0-2832-5211
ราษฎร์บูรณะ
WP
30
0-2877-5226
0-2877-5211
บางขุนเทียน
BT BS BN
57 58 59
0-2841-5226
0-2841-5211
ยานนาวา
W2 X Z
20 21 22
0-2611-5226
0-2611-5211
นนทบุร
 
79  85
0-2902-5226
0-2902-5211
บางเขน
 
77  78
0-2792-5226
0-2792-5211
ลาดพร้าว

68
0-2725-5397
0-2725-5336
ลาดกระบัง
 
65  66
0-2907-5397
0-2907-5336
ประเวศ
PK  BC  BP
35  27  34
0-2769-5397
0-2769-5336
บางบัวทอง
      BL
72  80  85  60
0-2832-5397
0-2832-5336


กองวิจัยและพัฒนา  ฝ่ายวิจัยและพัฒนา  การไฟฟ้านครหลวง  -  มกราคม 2549
Copyright © 2006 Metropolitan Electricity Authority (MEA). All rights reserved


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น