วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

java2

 การถ่ายทอดโดยตรงจาก class Dog ด้วยการใช้คำสั่ง extends และ
เรียกใช้ interface ทั้งสามด้วยคำสั่ง implements โดยเราได้กำหนดให้มี method bark() ใน
class Dog แต่เราจะ implement method swim() และ fetch() ใน class MyDog
ส่วนโปรแกรมทดสอบของเรามีดังนี้
225
1: /**
2: Testing multiple inheritance
3: */
4:
5: class MultipleInheritance {
6: public static void main(String[] args) {
7: MyDog red = new MyDog("Red");
9: act1(red); //treat as CanBark
10: act2(red); //treat as CanFetch
11: act3(red); //treat as CanSwim
12: act4(red); //treat as MyDog
13: }
14:
15: public static void act1(CanBark d) {
16: d.bark();
17: }
18:
19: public static void act2(CanFetch d) {
20: d.fetch();
21: }
22:
23: public static void act3(CanSwim d) {
24: d.swim();
25: }
26:
27: public static void act4(Dog d) {
28: d.bark();
29: }
30: }
ผลลัพธ์ที่เราได้จากการ run คือ
Woof Woof
Red is
Red is swiming.
Woof Woof
เราเริ่มต้นด้วย interface BankRate และ class Account
1: /**
2: interface for bank rate
3: */
4:
5: public interface BankRate {
6: double RATE = 5.0;
7: }

 ผลลัพธ์ผลลัพธ์ที่เราได้จากการ run คือ
Woof Woof
Red is fetching.
Red is swiming.
Woof Woof
เราเริ่มต้นด้วย interface BankRate และ class Account
1: /**
2: interface for bank rate
3: */
4:
5: public interface BankRate {
6: double RATE = 5.0;
7: }

ส่งงาน

วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

welcome

welcome  to suchat   pomamtas
ครบรอบ 11 ปี รัฐพิธีเปิดโรงไฟฟ้าวังน้อย
ในวันที่ 7 สิงหาคม 2552 จะเป็นวันครบรอบ 11 ปี แห่งรัฐพิธีเปิดโรงไฟฟ้าวังน้อยอย่างเป็นทางการ โดยโรงไฟฟ้าวังน้อย เป็นโรงไฟฟ้าประเภทพลังความร้อนร่วม ใช้ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยและประเทศเมียนม่าเป็นเชื้อเพลิงหลัก และใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงสำรองในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จำนวน 3 ชุด โดยชุดที่ 1–2 ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดกำลังผลิตชุดละ 652,180 กิโลวัตต์ แต่ละชุดประกอบด้วยเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันก๊าซขนาด 223,370 กิโลวัตต์ จำนวน 2 เครื่อง และเครื่องกังหันไอน้ำขนาดกำลังผลิต 205,440 กิโลวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง ส่วนชุดที่ 3 ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดกำลังผลิตชุดละ 722,750 กิโลวัตต์ จำนวน 1 ชุด ประกอบด้วย เครื่องกังหันก๊าซขนาดเครื่องละ 232,980 กิโลวัตต์ จำนวน 2 เครื่อง และเครื่องกังหันไอน้ำขนาดกำลังผลิต 256,790 กิโลวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น 2,027,110 กิโลวัตต์ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ปีละ 14,233 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

นายมโน วงศ์ผาสุกโชติ ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าวังน้อย (อฟว.) ได้กล่าวถึงผลการดำเนินงานที่ผ่านมา 11 ปีว่า โรงไฟฟ้าวังน้อยมีวิสัยทัศน์ คือ เป็นโรงไฟฟ้าชั้นนำ ผลิตไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล โดยรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม โดยมีกำลังผลิตเป็นอับดับ 4 ของประเทศ สามารถผลิตไฟฟ้าสร้างรายได้ให้กับ กฟผ. ปีละกว่า 4,000 ล้านบาท ตลอดระยะเวลา 11 ปีที่ผ่านมา โรงไฟฟ้าวังน้อยได้รับรางวัลดีเด่นมากมาย เช่น ในปี 2545 ได้รับรางวัล EIA Award ของสำนักงานนโยบายและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปี 2545 และ 2551 ได้รับรางวัล Zero Accident จากการปฏิบัติงานโดยไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานเป็นเวลานานในระดับจังหวัด จำนวน 2 ครั้ง และในระหว่างปี 2546–2552 ได้รับรางวัลสถานประกอบการดีเด่นระดับประเทศ 7 ปีซ้อน จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกระทรวงแรงงาน และยังได้รับการรับรองระบบมาตรฐานสากล ISO 14001, ISO 9001, มอก. 18000 จากสถาบันรับรองมาตรฐานสากล BVQI และได้รับรางกิจกรรม 5ส. ระดับดีเด่นของ กฟผ. มาตั้งแต่ปี 2542


ตามแผน PDP ของ กฟผ. ในปี 2554 จะดำเนินการสร้างโรงไฟฟ้าวังน้อย ชุดที่ 4 ขนาดกำลังผลิต 820,000 กิโลวัตต์ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนขออนุมัติจัดทำ EIA คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จและจ่ายไฟฟ้าได้เชิงพาณิชย์ในปี 2557 และในอนาคตโรงไฟฟ้าวังน้อยมีแผนจะนำระบบ ISO 26000 เข้ามาบริหารอย่างเต็มรูปแบบ นอกจากนั้นยังมีแผนนำระบบบริหาร TQM เข้ามาใช้และกำหนดเป้าหมายยื่นขอรับรางวัล TQA ในเวลา 5 ปีต่อจากนี้ไปอีกด้วย

ตลอดระยะเวลา 11 ปีที่ผ่านมา โรงไฟฟ้าวังน้อยยืนหยัดเคียงคู่กับประชาชนรอบๆ โรงไฟฟ้ามาตลอด เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพทางการเกษตร ดังนั้น โรงไฟฟ้าวังน้อยจึงมุ่งเน้นให้ความรู้เรื่องชีววิถีกับชาวบ้านเป็นหลัก โดยภายในโรงไฟฟ้าได้ดำเนินการจัดทำแปลงเกษตรอินทรีย์ เพื่อแสดงให้เห็นว่าโรงไฟฟ้าวังน้อยได้รักษาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง นอกจากนั้น ยังส่งเสริมให้พนักงานมีจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือสังคมอีกทางหนึ่งด้วย โดยภารกิจหลักของโรงไฟฟ้าวังน้อยคือ การผลิตพลังงานไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงสุดรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประชาชนอย่างเพียงพอ เพื่อความสุขของประชาชน โดยมีความรับผิดชอบต่อสังคมรอบบริเวณโรงไฟฟ้าเป็นอย่างดีและยั่งยืนสืบไป


 
ศรดิษฐ ชื่นชูศักด์ : รายงาน