วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

power

เรื่องระบบไฟฟ้ากำลัง
(Overview of Power System)

จ่ายไฟให้กับหลอดไฟฟ้า 7200 หลอดในพื้นที่หนึ่งตารางไมล์ หลังจากนั้นในปี ค . ศ . 1886 จอร์จ เวสติงเฮาส์ 
 (George Westinghouse) ได้ก่อตั้งบริษัทที่ชื่อว่า Westinghouse Electric Company ขึ้น เพื่อจำหน่ายไฟฟ้ากระแส
สลับ ซึ่งสามารถส่งจ่ายไปได้ในระยะทางที่ไกลกว่าไฟฟ้ากระแสตรง
1.1.2 ประวัติการไฟฟ้าในประเทศไทย                                                                                              
กิจการไฟฟ้าของประเทศไทยได้มีการดำเนินงานมาตั้งแต่รัชสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มในปี พ . ศ . 2427 จอมพลเจ้าพระ
ยาสุรศักดิ์มนตรีได้นำเงินส่วนตัว ส่งนายมาโยลา ชาวอิตาลีไปศึกษาวิชาไฟฟ้า และซื้ออุปกรณ์จากประเทศอังกฤษ
มาติดตั้งและเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่กรมทหารหน้า ( ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกระทรวงกลาโหม )
ในปีพ . ศ . 2437 – 2440 ทางราชการได้เป็นผู้ดำเนินการผลิตและส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าเอง จากนั้นได้โอนกิจการให้
กับบริษัทบางกอก อิเล็กทริกไลต์ ซินดิเคต (Bangkok Electric Light Syndicate) ซึ่งภายหลังขาดทุน จึงต้องโอนกิจ
การให้บริษัทไฟฟ้าสยาม (Siam Electricity) โดยตั้งที่ทำการและโรงไฟฟ้าที่ข้างวัดราชบูรณะหรือวัดเลียบ เป็นโรง
ไฟฟ้าชนิดพลังความร้อน ถูกเรียกชื่อว่า โรงไฟฟ้าวัดเลียบ
ในปี พ . ศ . 2455 รัชกาลที่ 6 ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงไฟฟ้าขึ้นที่สามเสน ใช้ชื่อว่า การไฟฟ้าหลวงสามเสน 
ดำเนินการในรูปรัฐพาณิชย์ภายใต้การควบคุมของกระทรวงมหาดไทย จากนั้นในปี พ . ศ . 2471 รัฐบาลได้ประกาศ
ใช้พระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน ซึ่งมีสาระสำคัญว่า
 ผู้หนึ่งผู้ใดจะประกอบการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภคเกี่ยวกับไฟฟ้าในประเทศไทยหาได้ไม่ เว้นเสียแต่ว่าผู้นั้น
จะได้รับสัมปทานหรือได้รับอนุญาตจากรัฐบาลตามราชการเสียก่อน มิฉะนั้นจะมีความผิดตามกฎหมาย'
ในปี พ . ศ . 2484 – 2488 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงไฟฟ้าวัดเลียบและโรงไฟฟ้าสามเสนถูกเครื่องบินฝ่ายพันธ
มิตรทิ้งระเบิดทำลายได้รับความเสียหาย และได้รับการซ่อมแซมจนใช้งานได้ ภายหลังสงครามโลกนี้ ได้เกิดวิกฤต
เศรษฐกิจและพลังงาน รวมถึงเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าขาดแคลนจึงได้มีการจัดตั้งโครงการหลายอย่าง เช่น
การสำรวจแหล่งน้ำ และเชื้อเพลิง และแผนการสร้างโรงไฟฟ้า เพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น
ในช่วงปี พ . ศ . 2500 – 2505 รัฐบาลได้มีการจัดตั้งองค์การทางรัฐวิสาหกิจที่รับผิดชอบในการผลิตไฟฟ้า คือ การ
ไฟฟ้ายันฮี ( กฟย .) การลิกไนต์ ( กลน .) และการไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือ ( กฟ . อน .) ซึ่งเป็นองค์กรที่เป็นอิสระ
ต่อกัน มีเป้าหมายการดำเนินการเหมือนกัน ภายหลังจึงได้ให้รวมเข้าด้วยกัน ภายใต้ชื่อ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประ
เทศไทย ( กฟผ .) ' ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ . ศ . 2512
ในปัจจุบันประเทศไทย มีองค์กรหลักที่ให้การดำเนินการเกี่ยวกับการผลิตและการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า ดังนี้
1.         การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ( กฟผ .) (The Electricity Generating Authority of Thailand, EGAT) 
รับผิดชอบผลิตและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และผู้ใช้พลังงาน
ไฟฟ้ารายอื่นตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งประเทศใกล้เคียง
2.         การไฟฟ้านครหลวง ( กฟน .) (Metropolitan Electricity Authority, MEA) มีอำนาจหน้าที่ในการจัดหา
 จัดจำหน่ายไฟฟ้าในเขตพื้นที่ 3 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ
3.         การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ( กฟภ .) (Provincial Electricity Authority, PEA) มีอำนาจหน้าที่จัดหาและจำหน่ายไฟฟ้าในเขตท้องที่ภูมิภาคของประเทศ
1.2 ระบบไฟฟ้ากำลังในปัจจุบัน
ระบบไฟฟ้ากำลังในปัจจุบัน เชื่อมต่อโยงถึงกันเป็นเครือข่ายที่ซับซ้อน แต่ก็ยังแบ่งเป็น 4 ส่วนหลัก ดังรูปที่ 1 คือ
1.         ส่วนกำเนิดกระแสไฟฟ้า (Generation)
2.         ส่วนส่งจ่ายกระแสไฟฟ้า (Transmission and Subtransmission)
3.         ส่วนจำหน่ายกระแสไฟฟ้า (Distribution)
4.         ส่วนของผู้ใช้ไฟฟ้า (Load)
1.2.1 ส่วนกำเนิดหรือผลิตกระแสไฟฟ้า
เป็นส่วนสำคัญของระบบไฟฟ้า ใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟสที่เรียกว่า Synchronous Generator หรือ 
 Alternator ซึ่งมีขนาดตั้งแต่ 50 MW ไปจนถึง 1500 MW
แหล่งที่มาของกำลังทางกล เรียกว่า ต้นกำลัง หรือ Prime mover ซึ่งถูกขับเคลื่อนด้วยแรงจากน้ำ หรือไอน้ำที่ได้จาก
การเผาเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ เช่น ถ่านหิน (Coal) น้ำมัน (Oil) หรือ ก๊าซธรรมชาติ (Natural gas) เป็นต้น ไอน้ำอาจ
ได้จากพลังงานนิวเคลียร์ พลังความร้อนใต้พิภพ หรือพลังแสงอาทิตย์ นอกจากนี้ กำลังทางกล ยังสามารถได้มาจาก
เครื่องยนต์ดีเซล หรือแรงผลักของก๊าซร้อนอีกด้วย
ในประเทศไทย นอกจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ EGAT ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการผลิตไฟฟ้า
แล้ว กำลังไฟฟ้าในระบบยังได้มาจากผู้ผลิตในภาคเอกชนด้วย จากข้อมูลปี พ . ศ . 2543 มีกำลังการผลิตติดตั้งของระบบ
ไฟฟ้าของประเทศ 22,593 MW เพิ่มจากปี พ . ศ . 2542 ร้อยละ 11.7 แบ่งเป็นสัดส่วนของภาครัฐ 70.3% และภาคเอก
ชน 29.7% รายละเอียดแสดงในตารางที่ 1
จากข้อมูลในปีเดียวกัน มีกำลังผลิตพลังไฟฟ้าสูงสุดของระบบ 17,275 MW เพิ่มขึ้นจากปี พ . ศ . 2542 ร้อยละ 21.1
 ผลิตพลังงานไฟฟ้า รวมทั้งสิ้น 95,977 GWh คิดเป็นสัดส่วนของภาครัฐ 66.4% และเป็นสัดส่วนของภาคเอกชน  
33.6%
กระแสไฟฟ้าที่ได้จากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จะถูกนำไปผ่านหม้อแปลง (Transformer) เพื่อปรับแรงดันให้มีความเหมาะ
สม ที่จะส่งต่อเข้าไปยังระบบ
1.2.2 ส่วนส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า
หลังจากที่กำลังไฟฟ้าได้ส่งผ่านหม้อแปลง เพื่อแปลงแรงดันให้สูง เหมาะสมกับการส่งจ่ายเข้าระบบ โดยทั่วไปใช้แรง
ดันมากกว่า 60 kv หรือตามมาตรฐานที่ 69 kV, 115kV, 138kV, 161kV, 230 kV, 345 kV, 500 kV และ 765 kV
 (line-to-line) ระบบส่งจ่ายจะรับกำลังไฟฟ้านั้นมา โดยใช้การเดินสายสูงเหนือศีรษะ (Overhead transmission)  
ไปตามเสาไฟฟ้าแรงสูง (High voltage transmission pole) เป็นระยะทางไกล เนื่องจากโดยทั่วไป โรงไฟฟ้ามักอยู่ห่าง
ไกลจากชุมชน เพื่อสภาพที่เอื้ออำนวยต่อการผลิต เช่น ใกล้แหล่งน้ำ แหล่งเชื้อเพลิง และในบางครั้งเพื่อหลีกเลี่ยง
ผลกระทบที่มีต่อชุมชนด้วย จากนั้นส่งต่อให้กับระบบจำหน่าย โดยจะผ่านไปที่สถานีไฟฟ้าย่อย และหม้อแปลงอีก
 เพื่อปรับแรงดันให้เหมาะสมต่อการใช้งานของผู้ใช้ไฟฟ้า
1.2.3 ส่วนจำหน่ายกำลังไฟฟ้า
เป็นส่วนที่ต่อออกมาจากสถานีไฟฟ้าย่อย โดยผ่านหม้อแปลง เพื่อแปลงแรงดันให้ลดลงมา ( โดยทั่วไปอยู่ในช่วง
 4 -34.5 kV ) เนื่องจากสถานีไฟฟ้าย่อยต้องอยู่ใกล้กับโหลด หรือผู้ใช้ มากที่สุด นั่นคือสถานีไฟฟ้าย่อยอยู่ในเขตชุม
ชน และระบบจำหน่ายก็เป็นระบบที่อยู่ในเขตชุมชน ดังนั้นระบบจำหน่ายจะมีทั้งแบบเดินสายเหนือศีรษะ (Overhead)
 และแบบเดินสายใต้ดิน (Underground) กำลังไฟฟ้าจะส่งไปยังผู้ใช้ไฟฟ้า ซึ่งมีการผ่านหม้อแปลงไฟฟ้าเพื่อลดและ
ปรับแรงดันลงอีกครั้งหนึ่ง
 รูปที่ 1 แสดงส่วนประกอบของระบบไฟฟ้า 
1.2.4 โหลดโหลด แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1.         อุตสาหกรรม (Industrial) 
2.         ธุรกิจ (Commercial) 
3.         ที่พักอาศัย (Residential)
โหลดประเภทอุตสาหกรรม เป็นโหลดประเภทที่ใช้ไฟ เป็นอัตราส่วนมากที่สุด ในภาคอุตสาหกรรมจะมีโหลดหลาย
ประเภทรวมกัน แต่จะมี Induction motor เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะมีผลต่อแรงดันและความถี่ของระบบ สำหรับอุตสาห
กรรมบางประเภท ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมหนัก มีการใช้ไฟฟ้าในปริมาณสูง สามารถใช้ไฟจากระบบส่งจ่าย แทนการ
รับไฟจากระบบจำหน่ายได้
ในภาคธุรกิจและที่พักอาศัย โหลดจะประกอบไปด้วย โหลดแสงสว่าง ความร้อนและปรับอากาศ โหลดเหล่านี้จะไม่มี
ผลต่อความถี่และใช้ Reactive power น้อยมาก
ค่า Real power ของโหลด วัดเป็น kW หรือ MW มีค่าเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งผู้ผลิตจะต้องผลิตไฟฟ้าให้มีกำลังจ่าย
ให้กับระบบมากพอต่อความต้องการของผู้ใช้ ดังจะเห็นได้จาก Load curve (LC) ซึ่งแสดงค่าการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้
 ( การใช้ไฟฟ้านั้น เกิดขึ้นจากผู้ใช้ไฟฟ้าหลายๆประเภทรวมกัน ) อาจวัดในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง เรียกว่า
 Daily load curve หรือ เป็นเดือน เรียกว่า Monthly load curve หรือ เป็นปี เรียกว่า Yearly load curve ในช่วงเวลาที่สนใจ 
จะมีค่าการใช้ไฟฟ้าที่สูงสุดอยู่ เรียกว่า Peak load หรือ Maximum demand เมื่ออยู่ในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง
 เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็ก อาจถูกเพิ่มเข้าไปในระบบ เพื่อเสริมกับค่ากำลังไฟฟ้าเดิมที่มีอยู่ในระบบ ให้เพียงพอ
ต่อความต้องการ ซึ่งเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ ไม่กี่ชั่วโมง
การประเมินความคุ้มค่าในการใช้งานโรงไฟฟ้า มี Load factor เป็นตัววัด หาได้จาก 
Load Factor (LF) =
หรือ ถ้าคิดสำหรับ 1 วัน 
Daily Load Factor =
=หรือ ถ้าคิดต่อปี
Annual Load Factor =
โดยทั่วไป ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของโหลดแต่ละประเภทจะเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน เป็นเหตุผลทำให้ LF ของระบบ
ดีขึ้น ถ้าโรงไฟฟ้าถูกใช้อย่างคุ้มค่า จะมีค่า LF สูง โดยทั่วไป มีค่าอยู่ระหว่าง 55 – 70 เปอร์เซ็นต์
ตัวชี้วัดอื่นๆ ที่ใช้ คือ Utilization Factor (UF) หาได้จาก
UF =และ Plant Factor (PF) หาได้จาก
PF =UF และ PF เป็นตัววัด ว่าขีดความสามารถของระบบ ถูกใช้งานและได้รับการจัดการดีเพียงใด
กระแสไฟฟ้าที่ได้จากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จะถูกนำไปผ่านหม้อแปลง (
Transformer) เพื่อปรับแรงดันให้มีความเหมาะ
สม ที่จะส่งต่อเข้าไปยังระบบ
1.2.2 ส่วนส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า
หลังจากที่กำลังไฟฟ้าได้ส่งผ่านหม้อแปลง เพื่อแปลงแรงดันให้สูง เหมาะสมกับการส่งจ่ายเข้าระบบ โดยทั่วไปใช้แรง
 ดันมากกว่า 60 kv หรือตามมาตรฐานที่ 69 kV, 115kV, 138kV, 161kV, 230 kV, 345 kV, 500 kV และ 765 kV
 (line-to-line) ระบบส่งจ่ายจะรับกำลังไฟฟ้านั้นมา โดยใช้การเดินสายสูงเหนือศีรษะ (Overhead transmission) 
ไปตามเสาไฟฟ้าแรงสูง (High voltage transmission pole) เป็นระยะทางไกล เนื่องจากโดยทั่วไป โรงไฟฟ้ามักอยู่ห่าง
ไกลจากชุมชน เพื่อสภาพที่เอื้ออำนวยต่อการผลิต เช่น ใกล้แหล่งน้ำ แหล่งเชื้อเพลิง และในบางครั้งเพื่อหลีกเลี่ยง
ผลกระทบที่มีต่อชุมชนด้วย จากนั้นส่งต่อให้กับระบบจำหน่าย โดยจะผ่านไปที่สถานีไฟฟ้าย่อย และหม้อแปลงอีก
 เพื่อปรับแรงดันให้เหมาะสมต่อการใช้งานของผู้ใช้ไฟฟ้า
1.2.3 ส่วนจำหน่ายกำลังไฟฟ้า
เป็นส่วนที่ต่อออกมาจากสถานีไฟฟ้าย่อย โดยผ่านหม้อแปลง เพื่อแปลงแรงดันให้ลดลงมา ( โดยทั่วไปอยู่ในช่วง 
 4 -34.5 kV ) เนื่องจากสถานีไฟฟ้าย่อยต้องอยู่ใกล้กับโหลด หรือผู้ใช้ มากที่สุด นั่นคือสถานีไฟฟ้าย่อยอยู่ในเขต
ชุมชน และระบบจำหน่ายก็เป็นระบบที่อยู่ในเขตชุมชน ดังนั้นระบบจำหน่ายจะมีทั้งแบบเดินสายเหนือศีรษะ
 (Overhead) และแบบเดินสายใต้ดิน (Underground) กำลังไฟฟ้าจะส่งไปยังผู้ใช้ไฟฟ้า ซึ่งมีการผ่านหม้อแปลง
ไฟฟ้าเพื่อลดและปรับแรงดันลงอีกครั้งหนึ่ง 
รูปที่ 1 แสดงส่วนประกอบของระบบไฟฟ้า
1.2.4 โหลด 
โหลด แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1.         อุตสาหกรรม (Industrial) 
2.         ธุรกิจ (Commercial
3.         ที่พักอาศัย (Residential)
โหลดประเภทอุตสาหกรรม เป็นโหลดประเภทที่ใช้ไฟ เป็นอัตราส่วนมากที่สุด ในภาคอุตสาหกรรมจะมีโหลดหลาย
ประเภทรวมกัน แต่จะมี Induction motor เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะมีผลต่อแรงดันและความถี่ของระบบ สำหรับอุตสาห
กรรมบางประเภท ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมหนัก มีการใช้ไฟฟ้าในปริมาณสูง สามารถใช้ไฟจากระบบส่งจ่าย แทนการ
รับไฟจากระบบจำหน่ายได้
ในภาคธุรกิจและที่พักอาศัย โหลดจะประกอบไปด้วย โหลดแสงสว่าง ความร้อนและปรับอากาศ โหลดเหล่านี้จะไม่มี
ผลต่อความถี่และใช้ Reactive power น้อยมาก
ค่า Real power ของโหลด วัดเป็น kW หรือ MW มีค่าเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งผู้ผลิตจะต้องผลิตไฟฟ้าให้มีกำลังจ่าย
ให้กับระบบมากพอต่อความต้องการของผู้ใช้ ดังจะเห็นได้จาก Load curve (LC) ซึ่งแสดงค่าการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ 
( การใช้ไฟฟ้านั้น เกิดขึ้นจากผู้ใช้ไฟฟ้าหลายๆประเภทรวมกัน ) อาจวัดในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง เรียกว่า
 Daily load curve หรือ เป็นเดือน เรียกว่า Monthly load curve หรือ เป็นปี เรียกว่า Yearly load curve ในช่วงเวลาที่สน
ใจ จะมีค่าการใช้ไฟฟ้าที่สูงสุดอยู่ เรียกว่า Peak load หรือ Maximum demand เมื่ออยู่ในช่วงที่มีความต้องการใช้
ไฟฟ้าสูง เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็ก อาจถูกเพิ่มเข้าไปในระบบ เพื่อเสริมกับค่ากำลังไฟฟ้าเดิมที่มีอยู่ในระบบ
 ให้เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ ไม่กี่ชั่วโมง
การประเมินความคุ้มค่าในการใช้งานโรงไฟฟ้า มี Load factor เป็นตัววัด หาได้จาก
Load Factor (LF) =
หรือ ถ้าคิดสำหรับ 1 วัน
Daily Load Factor =
=
หรือ ถ้าคิดต่อปี
Annual Load Factor =
โดยทั่วไป ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของโหลดแต่ละประเภทจะเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน เป็นเหตุผลทำให้ LF ของระบบดีขึ้น ถ้าโรงไฟฟ้าถูกใช้อย่างคุ้มค่า จะมีค่า LF สูง โดยทั่วไป มีค่าอยู่ระหว่าง 55 – 70 เปอร์เซ็นต์
ตัวชี้วัดอื่นๆ ที่ใช้ คือ Utilization Factor (UF) หาได้จาก
UF =
และ Plant Factor (PF) หาได้จาก
PF =
UF และ PF เป็นตัววัด ว่าขีดความสามารถของระบบ ถูกใช้งานและได้รับการจัดการดีเพียงใด
วิธีทำ หาค่า Load factor:
Consumed Energy = (2 x 6) + (4 x 5) + (3 x 10) + (3 x 15) + (2 x 12) + (2 x 14)
+ (2 x 16) + (2 x 18) + (2 x 16) + (1 x 12) + (1 x 6) = 277 MWh
Average load = 277 / 24 = 11.542 MW
จากข้อมูลในตาราง Peak load = 18 MW
ดังนั้น LF = 11.542 / 18 = 0.6412 หรือ 64.12%
1.3 การป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง (System Protection)
อุปกรณ์ป้องกันระบบ เรียกว่า Switch gear ประกอบไปด้วย Transformers, Circuit breakers, Disconnect switches, 
Fuses และ Lightning arresters ทำงานร่วมกับอุปกรณ์ควบคุมและอุปกรณ์ตรวจจับ (Protective relays) ซึ่งจะติดตั้งอยู่
ที่ห้องควบคุม
1.4 ศูนย์ควบคุม (Energy Control Center, ECC)
ใช้ตรวจตราระบบทั้งหมด จากศูนย์ควบคุมนี้ ประกอบไปด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมเชื่อมต่อทำงานร่วมกับ
อุปกรณ์ตรวจจับและควบคุมต่างๆ ทำงานตลอด เวลา เพื่อรับข้อมูลจากสัญญาณที่ส่งออกไปตรวจสถานะ การทำงาน
ของระบบ ภายในศูนย์ควบคุม จะประกอบไปด้วย Visual display unit และ Alarm เพื่อเตือนผู้ควบคุม เมื่อมีสิ่งผิดปกติ
เกิดขึ้น
1.5 ค่าไฟฟ้า (Tariff)
อัตราการเก็บค่าไฟฟ้าของประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นอัตราที่มีการปรับปรุงใหม่ เริ่มใช้เมื่อ เดือนตุลาคม พ . ศ . 2543
 มีอัตราแตกต่างกันออกไปตามประเภทของผู้ใช้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 7 ประเภท ดังนี้
1.         ที่พักอาศัย (Residential)
2.         กิจการขนาดเล็ก (Small general service)
3.         กิจการขนาดกลาง (Medium general service)
4.         กิจการขนาดใหญ่ (Large general service)
5.         กิจการเฉพาะอย่าง (Specific business service)
6.         ส่วนราชการและองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร (Government institutions and Non-profit organization)
7.         การสูบน้ำเพื่อการเกษตร (Agricultural pumping service)
ผู้ใช้ไฟฟ้าในประเภทที่ 1 หมายถึง การใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งวัด 
สำนักสงฆ์ และ สถานประกอบศาสนกิจของทุกศาสนา โดยต่อผ่านเครื่องวัดไฟฟ้าเครื่องเดียว
หมายเหตุ
  • อัตราค่าไฟฟ้าข้างต้น เป็นราคาที่ยังไม่รวม VAT
  • ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งเครื่องวัดไม่เกิน 5 แอมป์ 220 โวลท์ 1 เฟส 2 สาย จะจัดเข้าประเภทที่ 1.1.1 แต่หากมีการใช้
  • ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยติดต่อกัน 3 เดือนในเดือนถัดไปจะจัดเข้าประเภทที่ 1.1.2 และเมื่อใดที่การใช้ไฟฟ้า
  • ไม่เกิน 150 หน่วยติดต่อกัน 3 เดือน ในเดือนถัดไปจะจัดเข้าประเภทที่ 1.1.1
  • Peak : เวลา 09.00 - 22.00 น . วันจันทร์ วันศุกร์
  • Off Peak : เวลา 22.00 – 09.00 น . วันจันทร์ - วันศุกร์ และ วันเสาร์ วันอาทิตย์ วันหยุดราชการตามปกติ
  •  ( ไม่รวมวันหยุดชดเชย ) ทั้งวัน
  • TOU rate เป็นอัตราเลือกสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย และประเภทที่ 2 กิจการขนาดเล็ก เมื่อใช้
  • แล้วจะกลับไปใช้อัตราเดิมไม่ได้ ทั้งนี้ ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องชำระค่าเครื่องวัด TOU และหรือค่าใช้จ่ายอื่นตามที่การ
  • ไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกำหนด
  • ผู้ใช้ไฟฟ้าที่เลือกใช้อัตรา TOU กรณีติดตั้งเครื่องวัดไฟฟ้าทางด้านแรงต่ำของหม้อแปลง ซึ่งเป็นสมบัติของผู้
  • ใช้ไฟฟ้า ให้คำนวณหน่วยคิดเงินเพิ่มอีกร้อยละ 2 เพื่อครอบคลุมการสูญเสียในหม้อแปลงไฟฟ้าซึ่งมิได้วัดรวมไว้ด้วย
  • ในกรณีมีค่าใช้จ่ายที่เหนือจากการควบคุมของการไฟฟ้า จะมีการปรับค่าไฟฟ้าโดยใช้ Flat rate (Ft.) ซึ่งคิดต่อหน่วย

ตัวอย่างที่ 2 การคำนวณค่าไฟฟ้า
โจทย์ คำนวณค่าไฟฟ้าของบ้านหลังหนึ่ง ใช้ไฟฟ้าไป 120 หน่วยต่อเดือน และมีการปรับอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (Ft.)
 21.95 สตางค์ / หน่วย
วิธีทำ
ในกรณีผู้ใช้ไม่ได้เลือกจ่ายแบบ TOU rate ผู้ใช้จ่ายตามอัตราในข้อ 1.1.1 เนื่องจากใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 kWh / เดือน
คำนวณค่าพลังงานไฟฟ้า
5 หน่วยแรก ( หน่วยที่ 1 - 5)

= 0.00
บาท
10 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 6 - 15)                                                                                     
= (10 x 1.3576)
= 13.576
บาท
10 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 16 - 25)
= (10 x 1.5445)
= 15.445
บาท
10 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 26 - 35)
= (10 x 1.7968)
= 17.968
บาท
65 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 36 - 100)
= (65 x 2.1800)
= 141.70
บาท
20 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 101 - 120)
= (20 x 2.2734)
= 45.468
บาท

รวมคิดเป็นค่าพลังงานไฟฟ้า

= 234.157
บาท
ค่าบริการ

= 8.19
บาท
รวมเป็นค่าไฟฟ้าฐาน
= 234.157 + 8.19
= 242.347
บาท
คำนวณค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft)



จำนวนพลังงานไฟฟ้า x ค่า Ft.
= 120 x 0.2195
= 26.34
บาท
คำนวณค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%



( ค่าไฟฟ้าฐาน + ค่าไฟฟ้าผันแปร ) x 7/100
= (242.347 + 26.34) x 7/100
= 18.808
บาท
รวมเงินค่าไฟฟ้า
= 242.347 + 26.34 + 18.808
= 287.495
บาท




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น